แรงงานต่างด้าวทะลักออกจากไทยไม่หยุด อาจใช้ ม.44 ชะลอการใช้กฎใหม่ 120 วัน

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวในวันนี้ (3 ก.ค.) ว่า มีแนวโน้มที่รัฐบาลจะใช้มาตรา 44 ในการชะลอการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวออกไป 120 วัน โดยจะมีการหารือกันว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวจะให้นายจ้างดำเนินการอะไรบ้าง

ด้านสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเปิดเผยว่าระหว่างวันที่ 23-28 มิถุนายนที่ผ่านมา มีแรงงานต่างด้าวเดินทางออกจากไทยแล้วราว 60,000 คน โดย พล.ต.ต.พรชัย ขันตี รองผู้บัญชาการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เปิดเผยตัวเลขดังกล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ โดยให้เหตุผลว่าแรงงาน “น่าจะรู้สึกหวาดกลัว”

อย่างไรก็ตาม นายวิวัฒน์ จิระพันธ์วานิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว และการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) เมื่อวันที่ 3 ก.ค.ว่า มีแรงงานที่เดินทางกลับประเทศตัวเองแล้วประมาณ 29,000 คน

ด้าน เกตา เดวี คนงานพม่าวัย 28 ปี ซึ่งทำงานที่กรุงเทพฯ บอกกับรอยเตอร์ว่า เพื่อนของเธอหลายคนต่างกลัวผลของ พ.ร.ก.ฉบับนี้ และเดินทางกลับเมียนมาไปแล้ว

ด้านเจ้าหน้าที่ทางการเมียนมา ระบุว่ารถบรรทุกของรัฐบาลไทยหลายคันได้นำแรงงานจำนวนมากไปส่งให้เจ้าหน้าที่ ทางการเมียนมาในเมืองเมียวดี โดยไม่ชัดเจนว่าแรงงานเหล่านี้เดินทางออกจากไทยด้วยความสมัครใจหรือไม่

แรงงานต่างด้าว ทะลักกลับประเทศ

 

นายออง เต วินเจ้าหน้าที่ประสานงานของกระทรวงแรงงานเมียนมา กล่าวกับรอยเตอร์ว่า นับตั้งวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา มีแรงงานมากกว่า 16,000 คน เดินทางกลับบ้านแล้ว โดยคนเหล่านี้เป็นทั้งแรงงานที่ถูกกฎหมายและที่ไม่มีเอกสารรับรอง ซึ่งหวาดกลัวการกวาดล้างจับกุม รวมถึงแรงงานที่นายจ้างสั่งให้กลับบ้าน

ด้าน นายชิน พิเศษ รองหัวหน้าสำนักงานความสัมพันธ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ของกองทัพกัมพูชา กล่าวว่า นับตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้วมีแรงงานอพยพชาวกัมพูชาสูงถึง 500 คน เดินทางกลับบ้าน

เอ็นจีโอเสนอปลดล็อคขั้นตอนพิสูจน์สัญชาติแรงงาน

นาย อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายประชากรข้ามชาติ กล่าวกับบีบีซีไทยว่า กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบเป็นแรงงานที่มีการเคลื่อนย้ายหลักแหล่ง และเปลี่ยนนายจ้างบ่อย ได้แก่ กลุ่มแรงงานก่อสร้าง แรงงานในอุตสาหกรรมอาหารที่มีความต้องการสูง ภาคเกษตร และแรงงานในบ้าน

แรงงานต่างด้าว กลับประเทศ

หากรัฐบาลจะใช้มาตรา 44 ชะลอการบังคับใช้ พ.ร.ก.การทำงานคนต่างด้าวใน 3 มาตรา ที่เกี่ยวข้องกับบทลงโทษที่รุนแรงทั้งต่อนายจ้างและแรงงาน ออกไป 120 วัน นายอดิศรมองว่า อาจช่วยได้ในแง่การลดแรงตึงเครียดระหว่างนายจ้างกับรัฐ แต่ยังไม่เพียงพอ และเสนอให้ตัดลดขั้นตอนเกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติแรงงานจากประเทศต้นทาง

จากเดิมการดำเนินการดังกล่าว ทางการไทยจะเป็นตัวกลางในการติดต่อผ่านทางสถานทูตเพื่อให้ประเทศต้นทางของ แรงงานออกเอกสารรับรองบุคคลให้ทำงานในประเทศไทยได้ รวมแล้วต้องใช้เวลาราว 2 เดือนในการพิสูจน์สัญชาติของแต่ละคน นายอดิศร เสนอให้ตัดลดขั้นตอนในส่วนที่ทางการไทยเป็นตัวกลางออกไป โดยให้ตั้งแค่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จที่ชายแดนเพื่อดำเนินการจ้างงานแก่แรงงาน ที่มีเพียงแค่หนังสือเดินทางเข้าประเทศไทย

“คุยกับประเทศต้นทางว่าให้ แรงงานกลับไปทำพาสปอร์ตเข้ามา แล้วตั้งศูนย์วันสต็อปเซอร์วิสที่ชายแดน เมื่อแรงงานถือพาสปอร์ตเข้ามา นายจ้างยื่นคำร้องจ้างงานแล้วออกวีซ่าทำงานให้ ก่อนจะออกใบอนุญาตทำงาน 2 ปี” อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังว่าหากเปิดแบบนี้ ต้องเฝ้าระวังไม่ให้บริษัทนายหน้าจัดหางานแสวงหาประโยชน์จากแรงงานด้วย

แรงงานต่างด้าว ทะลักกลับประเทศ

ผู้ประสานงานเครือข่ายประชากรข้ามชาติ ยังได้เสนอทางออกในระยะเร่งด่วน ให้ใช้ช่องทางที่มีอยู่ใน พ.ร.ก.ฉบับนี้ ในมาตรา 14 ที่ ระบุว่า กรณีที่มีเหตุที่กระทบต่อความมั่นคงเศรษฐกิจของประเทศ ครม.สามารถมีมติยกเว้นไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.ก.ในกรณีใดกรณีหนึ่งได้

ที่มา: บีบีซีไทย

Facebook Comments

GET THE BEST DEALS IN YOUR INBOX

Don't worry we don't spam

ผู้หลงใหลในเรื่องขยะรีไซเคิล, การจัดการขยะ และอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมกลุ่มผู้ประกอบการรีไซเคิลให้แน่นแฟ้นและแข็งแกร่ง

X
- Enter Your Location -
- or -
สมัครสมาชิกใหม่
รีเซ็ตรหัสผ่าน
Compare items
  • Total (0)
Compare
0