แนะผู้ประกอบการ “SME พลาสติก” เร่งปรับตัว

วงการพลาสติกห่วงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำนวนมาก ไม่สนใจยกระดับตัวเอง หวั่นไม่ปรับตัวตายแน่ ด้านสถาบันพลาสติกแนะเร่งปรับตัวเข้ากลุ่มซัพพอร์ต 10 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่

นายสมศักดิ์ บริสุทธนะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ TPBI เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้น่าเป็นห่วงผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี ในกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกที่มีจำนวนมาก ที่ส่วนใหญ่ไม่สนใจยกระดับตัวเองขึ้นมาเป็นผู้ผลิตที่มีศักยภาพสูงขึ้น หากไม่มีการปรับตัวเกรงว่าอีกไม่นานจะแข่งขันยากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มพลาสติกที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ เช่นกลุ่มโรงงานฉีดพลาสติก หรือเป่าขวดพลาสติก ที่ยังมีอีกจำนวนมากไม่ยอมเปิดกว้าง และออกมารับรู้ข้อมูลภายนอก เพื่อนำมาพัฒนาตัวเอง เห็นได้จากการเข้าไปรวมอยู่ในสมาชิกส.อ.ท. หรืออยู่ในสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกที่มีการผลักดันเข้ามาเป็นสมาชิกได้จำนวน น้อยมาก ทั้งที่ทั่วประเทศมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลาสติกมากกว่า 3,000 ราย

“เรื่องนี้ภาครัฐควรจะมีอะไรจูงใจให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าไปรวมอยู่ใน องค์กรต่างๆ เพื่อมาแชร์ประสบการณ์กัน หรือมีการชี้นำว่าพลาสติกประเภทไหนไม่ควรขยาย หรือประเภทไหนควรพัฒนาต่อยอด ไม่เช่นนั้นแล้ว สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ไม่มีการพัฒนาสินค้า สินค้าผลิตออกมาตอบสนองความต้องการของตลาดไม่ได้”

สอดคล้องกับที่นายภราดร จุลชาต ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ขณะนี้ตามใบอนุญาตรง.4 มีผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกที่เปิดดำเนินการอยู่เมื่อปี 2559 นั้นจำนวน 3,000 ราย ในจำนวนนี้ 80% หรือราว 2,000 ราย เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มบรรจุภัณฑ์ เช่น โรงงานเป่าถุง ฉีดขวดพลาสติก (ขวด PE, PET) อีก20% จะเป็นกลุ่มพลาสติกสำหรับผลิตชิ้นส่วนงานก่อสร้าง(ท่อน้ำ สายไฟฟ้า)และชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่ม20%นี้จะทันสมัย เพราะต้องเข้าสู่มาตรฐานระบบความปลอดภัย

ทั้งนี้ในจำนวนผู้ผลิตส่วนใหญ่ที่เป็นเอสเอ็มอี ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการกระจายอยู่ตามห้องแถว โรงงานขนาดเล็กทั่วประเทศ ยังยากต่อการดึงเข้ามาเป็นสมาชิกในส.อ.ท. และเข้าไปเป็นสมาชิกในสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย ทำให้ทั้ง2องค์กรนี้มีสมาชิกอยู่ในกลุ่มน้อยมาก ถ้าเทียบกับจำนวนใบอนุญาตรง.4ของกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกที่มีอยู่ในขณะนี้ โดยเป็นสมาชิกอยู่ในกลุ่มพลาสติกของส.อ.ท.ประมาณ 90-100 ราย และเป็นสมาชิกในสมาคมราว 400 ราย
อย่างไรก็ตามเป้าหมายของกลุ่มพลาสติกในส.อ.ท.ปี 2560 จะพยายามผลักดันผ่านสถาบันพลาสติกในการทำงานร่วมกันในการให้ความรู้ ฝึกอบรม ยกระดับงานเป่าฉีดพื้นฐาน และให้ความรู้ความปลอดภัย อีกทั้งการทำความเข้าใจด้านพลาสติกและสิ่งแวดล้อม โดยส.อ.ท.เข้าไปมีส่วนร่วมกับกรมควบคุมมลพิษในการทำแผนแม่บทในการจัดการขยะ จากบรรจุภัณฑ์พลาสติก สำหรับมูลค่าตลาดรวมในอุตสาหกรรมพลาสติกมีไม่ต่ำกว่า 5-6 แสนล้านบาทต่อปี (ยังไม่รวมมูลค่าเม็ดพลาสติก)

ด้านนายเกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก กล่าวว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในกลุ่มพลาสติกจำเป็นต้องเร่งปรับตัว และจากนี้ไปโอกาสของกลุ่มพลาสติกจะไปซัพพอร์ต 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ได้มากขึ้นเพราะชิ้นงานที่ผลิตจะต้องไฮเทคมากขึ้น จากเดิมผู้ประกอบการจำนวนมากเป็นผู้รับจ้างผลิตหรือโออีเอ็ม(OEM) อีกทั้งช่วงหลังลูกค้าของโออีเอ็มก็ย้ายฐานการผลิตออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น เช่น แอลจี, ซัมซุง ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าออกไปลงทุนในเวียดนาม ฐานกลุ่มนี้ใช้ชิ้นส่วนพลาสติกจำนวนมาก ขณะที่ผู้ประกอบการกลุ่มพลาสติกไม่สามารถย้ายตามไปได้ทันที บางรายสายป่านสั้น

ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,239

Facebook Comments

GET THE BEST DEALS IN YOUR INBOX

Don't worry we don't spam

ผู้หลงใหลในเรื่องขยะรีไซเคิล, การจัดการขยะ และอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมกลุ่มผู้ประกอบการรีไซเคิลให้แน่นแฟ้นและแข็งแกร่ง

X
- Enter Your Location -
- or -
สมัครสมาชิกใหม่
รีเซ็ตรหัสผ่าน
Compare items
  • Total (0)
Compare
0