ไคโตซานเป็นสารที่ถูกนำไปใช้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายในวงการการแพทย์ แต่มหาวิทยาลัยน็อตติงแฮมต้องการที่จะพัฒนาไคโตซานสำหรับใช้ในการผลิตถุงพลาสติกชีวภาพสำหรับประเทศอียิปต์
วิศวกรชีววิทยาของมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮมกำลังทดลองสร้างทางเลือกใหม่ในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกจาก เปลือกกุ้ง พวกเค้าหวังว่ามันจะสามารถใช้ในการพัฒนาถุงพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติโดยมีเป้าหมายในการใช้งานที่ประเทศอียิปต์ และด้วยวัตถุดิบสำหรับการผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารชนิดใหม่นี้ยังมีสมบัติช่วยยืด อายุของอาหารที่อยู่ภายในได้อีกด้วย
Dr Nicola Everitt จากคณะวิศวกรรมมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮมผู้ซึ่งทำการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยไนล์ในประเทศอียิปต์ กล่าวว่า “ประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการของเสีย ณ ปัจจุบันของประเทศอียิปต์ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่ท้าทายที่สุดของประเทศ” “การไม่ย่อยสลายของผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น รวมถึงการปนเปื้อนของแหล่งน้ำที่ส่งผลให้คุณภาพชีวิตตกต่ำ” อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุชีวภาพและชีวมวลยังไม่สามารถใช้งานได้ จริงในประเทศอียิปต์เนื่องจากการประเด็นการแย่งชิงพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกพืชเพื่อใช้เป็นอาหาร
แนวคิดที่จะใช้เปลือกกุ้งมาพัฒนานั้น มาจากการที่เปลือกกุ้งเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาขยะที่เกิดขึ้น ดังนั้นการนำเปลือกกุ้งมาใช้งานจะเป็นการนำส่วนหนึ่งของปัญหามาเปลี่ยนเป็น ส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาได้ Dr.Everitt กล่าวว่า “การใช้พลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ที่ทำจากเปลือกกุ้งมาผลิตเป็นถุงพลาสติก ชีวภาพจะนำไปสู่การลดการปลดปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศและยังเป็นการลดของ ปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์ที่จะสะสมตามท้องถนนรวมไปถึงจุดทิ้งขยะที่ผิดกฏหมายได้” ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะสามารถทำตลาดส่งออกไปยังประเทศต่างๆได้ภายใน 10-15 ปี
ไคโตซานเป็นพอลิเมอร์ที่มนุษย์เป็นผู้ผลิตขึ้นจากสารประกอบอินทรีย์จำพวกไคตินที่ได้จากการสกัดมากจากเปลือกกุ้ง ลำดับแรกจะต้องใช้กรดในการชะล้างแคลเซียมคาร์บอนเนตออกจากเปลือก และใช้อัลคาไลน์ในการสร้างสายโซ่โมเลกุลเพื่อสร้างพอลิเมอร์ชีวภาพ เกล็ดไคโตซานแห้งสามารถนำไปสะลายในของเหลวและฟิล์มพลาสติกที่ผลิตด้วยกระบวนการทั่วไป ไคโตซานเป็นสารที่ถูกเลือกเนื่องจากไคโตสารเป็นสารที่สามารถย่อยสลายได้จริง และถูกนำไปใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ทางการแพทย์แล้ว รวมถึงใช้ในการผลิตยาต้นจุลชีพ ยาต้านแบคทีเรีย และสมบัติที่ไคโตซานมีความสามารถในการเข้ากันได้ทางชีวภาพ
ในเป้าหมายที่สองโครงการนี้คือการพัฒนาแอคีฟพอลิเมอร์สำหรับการผลิตฟิล์มพลาสติกที่สามารถดูดซับออกซิเจน
ยุคสมัยของบรรจุภัณฑ์ในอนาคตจะต้องมีความสามารถในการยืดอายุอาหารและต้องใช้พลังงานในการผลิตที่ต่ำกว่า สร้างผลกระทบเชิงบวกของการใช้พืชอาหารในการผลิต
ถ้าหากโครงการนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี Dr.Everitt วางแผนที่จะเข้าถึงผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกในสหราชอาณาจักรอังกฤษต่อไป
นอกจากนี้ งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายที่จะกำหนดเส้นทางการผลิตของพอลิเมอร์ชีวภาพ สำหรับการผลิตถุงพลาสติกและบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ ที่สามารถผลิตได้จริง
โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนแหล่งเงินทุนวิจัยจาก the Newton Fund และ the Newton-Mosharafa Fund ซึ่งเป็นหนึ่งใน 13 กองทุนความร่วมมือของมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮม
ที่มา: bioplasticsmagazine.com
ขอขอบคุณ: plastic.oie.go.th