อุตสาหกรรมไก่ในสหภาพยุโรป ต้องทิ้งขนไก่ไปกว่าสามล้านตันทุกปี จากโรงฆ่าไก่
ขนไก่เป็นแหล่งเคราติน (keratin) ที่สำคัญ ที่มักจบลงในขยะฝังกลบหรือนำไปเผา ซึ่งจะได้ผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูงหลายประเภท เช่น ปุ๋ย พลาสติกชีวภาพ คอมโพสิตชีวภาพ และสารเติมแต่ง สำหรับหีบห่อและการเคลือบที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพสำหรับอุตสาหกรรมผ้าผืน
ในฐานะเป็นหนึ่งใน 16 พันธมิตร จาก 10 ประเทศ AIMPLAS ซึ่งเป็นศูนย์เทคโนโลยีพลาสติก (Plastics Technology Centre) กำลังเข้าร่วมโครงการ KARMA 2020 ของยุโรป ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะพัฒนากระบวนการเชิงนวัตกรรมเพื่อสกัดเคราตินจากขยะจากไก่ ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าว เริ่มด้วยการออกแบบกระบวนการ valorization เชิงนวัตกรรม ทั้งนี้ หลังจากได้รับขยะแล้ว จะดำเนินการขจัดสิ่งปนเปื้อนเพื่อกำจัดจุลินทรีย์ก่อโรคใดๆ ที่อาจเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ ที่ต้องสัมผัสในแต่ละขั้นตอนต่างๆ จากนั้น ขนไก่จะถูกปรับสภาพในระดับนาโนและไมโคร เพื่อบรรลุความสามารถในการแปรรูปได้ของเคราตินโดยกระบวนการต่างๆ
เมื่อ ได้เคราตินจากขนไก่แล้ว จะสามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย เช่น อนุภาคดังกล่าวสามารถรวมเข้าไปในโพลิเมอร์ชีวภาพ ที่ได้จากทรัพยากรที่หมุนเวียนได้ เพื่อผลิตหีบห่อที่นำไปรีไซเคิลได้ทั้งหมดและย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งก็จะนำไปบรรจุไก่ต่อไป
การผลิตคอมโพสิตชีวภาพก็เป็นอีก สาขาหนึ่งที่ใช้เคราตินที่ได้จากขนไก่ เพราะสามารถรวมเข้าไป เป็นเส้นใยและโคโพลิเมอร์ ในแม็ททริกส์ของคอมโพสิต
เคราตินจากขนไก่ ยังสามารถนำไปใช้ในการผลิตปุ๋ย ทั้งนี้เคราตินได้จากกรดอะมิโน ซึ่งโครงสร้างมีปริมาณไนโตรเจนสูง ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของปุ๋ยมี่ใช้ในการเกษตร
การพัฒนาสิ่งทอเทคนิคก็สามารถใช้ประโยชน์จากการรวมส่วนประกอบ เช่น เคราติน โดยเฉพาะการเคลือบ ในรูปของอนุภาคที่มีคุณสมบัติในการหน่วงไฟและการสามารถหายใจได้ เนื่องจากเคราตินสามารถถ่ายเทไอน้ำผ่านการเคลือบได้
อนึ่ง โครงการดังกล่าว ได้รับเงินสนับสนุนจากโครงการวิจัยและนวัตกรรม Horizon 2020 ของยุโรป
ที่มา: bioplasticsmagazine.com
ขอขอบคุณ: plastic.oie.go.th