ญี่ปุ่นกับการ “รีไซเคิลพลาสติก”

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่รักการห่อสิ่งของด้วยพลาสติกเป็นชีวิตจิตใจ แล้วประเทศที่ถูกวิจารณ์ว่าใช้พลาสติกมากขนาดนี้อย่างญี่ปุ่น มีวิธีการจัดการกับขยะพลาสติกมหาศาลที่เกิดขึ้นได้อย่างไร? ไปติดตามกัน

ทุกวัน รถบรรทุกคันใหญ่จะขนขยะพลาสติกราว 10 ตัน มาที่โรงงานรีไซเคิลขยะอิจิคาวะ คันเคียว ที่ตั้งอยู่แถบชานกรุงโตเกียว
เมื่อเทขยะลงมาแล้ว คนงานก็จะเริ่มแยกสิ่งแปลกปลอม และคัดแยกชนิดขยะอีกครั้ง บนสายพานลำเลียง

คัดแยกขยะรีไซเคิล

คัดแยกพลาสติกรีไซเคิล

เมื่อแยกขยะเรียบร้อยแล้ว ขยะพลาสติกทั้งหมดจะถูกบีบอัดให้กลายเป็นก้อนขนาดใหญ่ ก่อนที่รถยกจะขนไปเก็บไว้ที่โกดัง เพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลต่อไป

บีบอัดพลาสติกรีไซเคิล

จัดเก็บเพื่อเตรียมรีไซเคิล
ต้องยอมรับว่า คนญี่ปุ่นและอุตสาหกรรมค้าปลีก นิยมการใช้พลาสติกมาก ใช้ห่อแทบทุกอย่าง ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์ชั้นสูง ไปจนถึงผลไม้เพียงหนึ่งลูกก็ต้องห่อพลาสติก…รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ห้ามการใช้ พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง มาตรการแบนถุงพลาสติกก็บังคับใช้หละหลวม…แต่ทำไมญี่ปุ่นมีขยะพลาสติกน้อย?

นั่น ก็เพราะญี่ปุ่นเองมีกฎหมายที่ซับซ้อนและเข้มงวดเกี่ยวกับการแยกขยะ เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพการรีไซเคิล…ทางการท้องถิ่นโตเกียว และเมืองอื่นๆ ต่างมีกฎระเบียบการแยะขยะของตัวเอง ลงลึกตั้งแต่ว่า จะแยกอย่างไร ขยะไหนควรเป็นชนิดอะไร แยกตั้งแต่ กระป๋อง กระดาษ และขยะรีไซเคิลอื่นๆ และกำหนดเวลาการเก็บขยะแต่ละชนิดในแต่ละวัน

การจัดการขยะเป็นระบบ
สถาบันจัดการขยะพลาสติกระบุว่า การทำแบบนี้ ช่วยให้รีไซเคิลพลาสติกได้มากกว่า 1 ใน 5 ส่วนที่เหลือก็นำไปเผาผลาญเป็นเชื้อเพลิง ทำความร้อน หรือผลิตไฟฟ้าได้ โดยมีขยะพลาสติกเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่นำไปเผาทำลายแบบทิ้งเปล่า และมีไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่จะไปจบที่แหล่งทิ้งขยะ

ที่มา: สปริงนิวส์


ประกาศซื้อ-ขายขยะรีไซเคิลทุกชนิด ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย คลิกที่นี่

Facebook Comments

GET THE BEST DEALS IN YOUR INBOX

Don't worry we don't spam

ผู้หลงใหลในเรื่องขยะรีไซเคิล, การจัดการขยะ และอยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมกลุ่มผู้ประกอบการรีไซเคิลให้แน่นแฟ้นและแข็งแกร่ง

X
- Enter Your Location -
- or -
สมัครสมาชิกใหม่
รีเซ็ตรหัสผ่าน
Compare items
  • Total (0)
Compare
0